สยามรัฐออนไลน์
24 มีนาคม 2564 16:55 น.
อาชญากรรม
พาณิชย์ศรีสะเกษ
วันที่ 24 มีนาคม 2564 เวลา 0 9.00 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ชั้น 3 นางสาววาสนา อยู่ดี พาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด(เซลล์แมนจังหวัด) ครั้งที่3 / 2564 โดยมี ดร กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวศรีสะเกษ นายภูมิพัฒน์ มหาสุวีระชัย ผู้แทนประธานหอการค้าจังหวัด นายธีรภัทร์ ส่งเสริม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด นายภูวนัตถ์ มหาสุวีระชัย ประธานเครือข่ายYEC นายวรวุฒิ สุจริต ประธานเครือข่าย MOC Biz Club ศรีสะเกษ นางสาวพิชามญชุ์ แซ่จึง แทนประธานสภาเกษตรกรนางทวีพร ธรรมธร นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ ฯ ลฯ เข้าร่วมประชุม
นางสาววาสนา อยู่ดี พาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า การทำงานของคณะเซลล์แมนจังหวัด เรื่องหอมแดงขณะนี้ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี ผลการส่งเสริมการตลาดสินค้าหอมแดง ปีการผลิต 2563/64 จากการเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่เพื่อระบายสินค้าหอมแดง จำหน่ายได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 126.519 ตัน มูลค่ารวม 2,866,871 บาท มีการส่งเสริมการขายหอมแดงทางออนไลน์ไปยังผู้บริโภค มีการส่งเสริมผู้ประกอบการโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะปีนี้ต้องขอบพระคุณรองโฆษกสำนักนายกฯรัฐมนตรี นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล ที่ได้สั่งซื้อหอมแดงจำนวน 1 ตัน ราคา 22 บาท/กิโลกรัม มูลค่า 22,000 บาทและรองโฆษกสำนักนายกฯรัฐมนตรี ยังได้ประสานกองทัพเรือให้สั่งซื้อหอมแดงจากเกษตรกรศรีสะเกษด้วย ซึ่งทางพาณิชย์จังหวัดได้ไปส่งมอบสินค้าให้กับกองทัพเรือ ณ กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ เรียบร้อบแล้ว มีพล.ร.ท.ชาญชัยยศ อัฑฒ์สุวีร์ รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้แทนผู้บัญชาการกองเรือยุทธการเป็นผู้รับมอบเพื่อนำไปมอบให้หน่วยในพื้นที่สัตหีบนำไปประกอบอาหารให้กำลังพลต่อไป
ส่วนด้านเอกชนก็มีบริษัทไทยอกริฟู๊ดส์จำกัดสมุทรปราการ ได้สั่งซื้อหอมแดงจากกลุ่มวิสาหกิจ อำเภอราษีไศล 30ตัน การดำเนินการเชื่อมโยงตลาดหอมแดงโดย MOC Biz Club จำหน่ายไปยังผู้บริโภคต่างจังหวัดประมาณ 7 ตัน มูลค่า 210,000 บาทกกลุ่มวิสาหกิจน้ำปลาหวานต้นหอมจากจังหวัดสมุทรปราการก็สั่งซื้อหอมแดงทั้งหอมแดงพร้อมใช้และหอมปั๋ง บริษัทตะวันพืชผล เจ้าใหญ่ก็สั่งซื้อหอมแดงปริมาณ 100 ตัน และยังมีรายการอื่นอีกจำนวนมากที่มีการแลกเปลี่ยน Counter Trade ภายใต้นโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ของรองนายกฯและ รมต.พาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์)ที่มีการตกลงเรื่องข้าวหอมมะลิระหว่างสกต ศรีสะเกษ กับ สกต.สงขลา และพังงา ด้าน การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่มีศักยภาพของจังหวัดศรีสะเกษ คณะทำงานฯ มีมติดำเนินการหาวิธีเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าที่มีศักยภาพของจังหวัดศรีสะเกษซึ่งยังมีอีกหลายชนิดเช่น ทุเรียนภูเขาไฟ แต่เมื่อเห็นมีภัยธรรมชาติจากพายุเกรงว่าตะเกิดผลกระทบที่ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตน้อย ได้คุยกับที่ประชุมว่าน่าจะมีกันชนต้นไม้มาปลูกอาจจะเป็นต้นยาง ต้นยูคา ต้นไม้สัก ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะปลูกได้ไหม อยากให้ชาวเกษตรกรได้คิดเตรียมรับสถานการณ์แปรปรวนของภัยธรรมชาติไว้ด้วย
ดร กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวศรีสะเกษกล่าวว่า ทางภาคเอกชน หอการค้า สภาอุตฯ สภาฯท่องเที่ยว ฯ ต่างเห็นด้วยว่าควรมีการจัดจำหน่ายเป็นทุเรียนพร้อมทานและจำหน่ายทางออนไลน์ ด้วย เพราะศรีสะเกษได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการจัดส่งสินค้าในอัตราพิเศษ ทั้งกล่องใส่ทุเรียนที่ปลอดภัยพร้อมไปตั้งจุดบริการรับฝากส่งไปรษณีย์ ณ สวนทุเรียนของเกษตรกรด้วย โดยในเบื้องต้นได้คัดเลือก สวนทับทิม อำเภอกันทรลักษ์ เป็นจุดแรก ส่วนเรื่อง พริก พาณิชย์จังหวัดได้สนับสนุนให้นำมาแปรรูปเป็นพริกแกง แต่ระหว่างนี้อยู่ในช่วงกำลังทดสอบผลิตภัณฑ์ ต้องรอดูผลอีกสักระยะค่อยทำการประชาสัมพันธ์