วันที่ 11 มี.ค. 64 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 64 – ปัจจุบัน เกิดพายุ
ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ 35 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครนายก รวม 105 อำเภอ 221 ตำบล 468 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,746 หลัง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด ซึ่ง ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้วกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานจากสถานการณ์บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในห้วงวันที่ 1 มีนาคม 2564 – ปัจจุบัน (11 มีนาคม 2564 เวลา 06.00 น.) ส่งผลให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในพื้นที่ 35 จังหวัด รวม 105 อำเภอ 221 ตำบล 468 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,746 หลัง วัด 7 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง
เสาไฟฟ้า 7 ต้น รถยนต์ 11 คัน ผู้บาดเจ็บ 10 ราย (กาญจนบุรี 1 ราย สระบุรี 9 ราย) แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และพิจิตร รวม 11 อำเภอ 23 ตำบล 52 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 332 หลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา และอุบลราชธานี รวม 67 อำเภอ 137 ตำบล 302 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 1,567 หลัง ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี และตราด รวม 10 อำเภอ 18 ตำบล 28 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 251 หลัง ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครนายก รวม 17 อำเภอ 43 ตำบล 86 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 596 หลัง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ทั้งการชดเชยความเสียหายของบ้านเรือนเป็นวัสดุก่อสร้าง หรือจ่ายเงินช่วยเหลือตามความเหมาะสม ท้ายนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
- Line